แมร์อันนา เดอเยซูเจ้าคณะแขวงเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรมีความประสงค์ให้ก่อสร้างโรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา เพื่อรับนักเรียนหญิงในเขตจังหวัดสมุทรปราการ และในเขตปริมณฑตให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ


            โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา เป็นโรงเรียนในเครือเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2511มีนักเรียนรุ่นแรก 650 คน ครู 26 คนจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6โดยจัดเป็นโรงเรียนประเภทสามัญศึกษาระดับประถมขนาดใหญ่ มัธยมศึกษาขนาดกลางและโรงเรียนดำเนินโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ(English Program) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547


ประวัติคณะภคินี

เซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร 

(A History of Sister of Si. Paulde Chartres)


       ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17  คุณพ่อหลุยส์  โชเวต์ เจ้าอาวาสวัดประจำตำบลเลอเวส์วิลล์  ลา เชอนาร์ด (Levesville-la-Chenard) สังฆมณฑลชาร์ตร ประเทศฝรั่งเศส ได้เห็นความทุกข์ร้อนของสัตบุรุษของท่าน ทั้งด้านวัตถุและด้านจิตวิญญาณอันเป็นผลของสงครามในบริเวณที่ราบโบส จึงดำริที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตในสภาพที่ดีขึ้น โดยได้รวบรวมเด็กสาวจำนวนหนึ่ง ที่ปรารถนาจะถวายตัวแด่พระเป็นเจ้า

        งานริเริ่มของท่านได้รับความร่วมมือจาก ดามัวแชล มารีอานน์ เดอ ตียี ผู้ให้การอบรมภคินีรุ่นแรกของคณะ ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า"คณะธิดาโรงเรียน"  เพราะสอนอ่านเขียน  สอนคำสอน เย็บปักถักไหมพรมแก่เด็กหญิงในหมู่บ้าน

       ภคินียีงอุทิศตนดูแลเอาใจใส่คนเจ็บป่วยและเด็กกำพร้า ขณะเดียวกันยังต้องหาเลี้ยงชีพด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเองเพื่อมิให้เป็นภาระแก่วัด

       พ.ศ. 2250  ภคินี 2 คนได้รับเรียกให้ไปทำงานที่หมู่บ้านห่างไกลใน ชาโตเนิฟ ณ ที่นี้เองพระสีงฆราชปอล โกเดต์ เดมาเรสต์แห่งสังฆมณฑลชาร์ตรได้มาเยี่ยมสัตบุรุษและได้เห็นความกระตือรือร้นในการทำงานของภคินี จึงมีความปรารถนาจะให้ไปแพร่ธรรมในเขตอื่น ๆ ด้วยในปีต่อมาท่านจึงได้มอบบ้านหลังใหญ่ใกล้อาสนวิหารพระมารดาแห่งชาร์ตรให้เป็นบ้านศูนย์กลางของคณะและได้ตั้งชื่อให้คณะว่า 
" ภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร" 

       พ.ศ. 2270ท่านเคาท์แห่ง โบเรอปา ผู้บัญชาการทหารเรือได้มีหนังสือในนามของกษัตริย์ของภคินีจำนวน4 คนไปทำงานรักษาพยาบาลแก่ทหารเรือที่เกิดโรคระบาดเจ็บป่วยในค่ายกักกันที่ประเทศกายอานาทวีปอเมริกาใต้ นับเป็นการเริ่มงานแพร่ธรรมในต่างประเทศเป็นครั้งแรก จวบจนปี พ.ศ. 2532 คณะปฎิบัติงานอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก 27ประเทศ

         ประวัติศาสตร์และชีวิตของคณะ ดำเนินไปตามเสียงเรียกร้องของพระศาสนจักร ในการพัฒนาเพื่อนมนุษย์ ด้านสุขภาพอนามัย สติปัญญา การดำรงชีพและด้านจิตวิญญาณ

                 สมาชิกทั่วโลกถ่ายทอดพระพรพิเศษและจิตตารมณ์ของคณะสืบต่อกันมาเป็นแนวดำเนินชีวิตในความเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้การทรงนำของพระจิตเจ้า และคำแนะนำของสมเด็จพระสันตะปาปาและผู้แทนของพระองค์ในพระศาสนจักรท้องถิ่น

งานในประเทศไทย

                  พ.ศ. 2441 พระสังฆราชหลุยเวย์  ได้ขอภคินีเซนต์ปอล เดอชาตร์มาทำงานด้านการพยาบาลที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ มีภคินีรุ่นแรกเดินทางมาทำงานด้านการรัำกษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ มีภคินีรุ่นแรกเดินทางมา 7 คน  เข้าทำการรักษาพยาบาลสงเคราะห์เด็ก คนชรา ออกหน่วยพยาบาลเคลื่อนที่ และสอนนักเรียนพยาบาล

                 พ.ศ. 2448 คุณพ่อกอลอมเบต์ ขอให้คณะมาเปิดโรงเรียนคาทอลิกสำหรับเด็กหญิง สอนภาษาต่างประเทศ ดนตรี และการฝีมือจึงเปิดโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์เป็นแห่งแรกภคินีทำงานด้านการศึกษาอบรมแก่เยาวชนทุกระดับ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางศาสนา ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ


ภคินีอุทิศตนรับใช้เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย

             ทุกวัน ภคินีร่วมถวายบูชามิสซา อันเป็นศูนย์กลางแห่งชีวิตของเธอ เพื่อถวายตนเองและกิจการต่าง ๆร่วมกับการบูชาของพระคริสตเจ้า

              ภคินีดำรงชีวิตอยู่ในหมู่คณะ แบ่งปันและสนับสนุนกันและกัน ในการปรนนิบัติพระเป็นเจ้าและรับใช้เพื่อนมนุษย์

จิตตารมณ์ของภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร

              พื้นฐานจิตตารมณ์ของภคินี มาจากคำสอนของนักบุญเปาโล  คือ มีพระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลางชีวิต ดุจเดียวกับพระแม่มารีองค์อุปถัมภ์ของคณะอันเป็นแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการถวายตนแด่พระเป็นเจ้า ทำงานประกาศพระวรสารของพระองค์ในงานรับใช้พระศาสนจักรและเพื่อนมนุษย์จิตตารมณ์ของคณะสรุปอยู่ในสามคำนี้  "ซื่อสัตย์  ราบเรียบ การงาน"


ผู้บริหารสถานศึกษาจากอดีตถึงปัจจุบัน



สัญลักษณ์ของสถานศึกษา

            ประกอบด้วยปริมณฑลภายในวงกลม มีเส้นขอบ และมีเส้นโค้งลงประดับรอบนอกบังเกิดเป็นกลีบเจ็ดกลีบ กลางปริมณฑล มีโล่ป้องกันศัสตราวุธ ภายในโล่แบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนบนมีอักษร ซ.ย. อยู่หน้าเส้นตรงตั้งส่วนกลาง เส้นว่าง ส่วนล่างมีตะเกียงเปล่งประทีปวางอยู่บนหนังสือสองเล่มซ้อน มีเส้นนอนเป็นฐานมีดาบขัดอยู่หลังโล่ ปลายดาบปรากฏที่ด้านบนซ้าย ด้ามดาบปรากฏที่ด้านล่างขวา มองเห็นใบไม้ทอดปลายด้านบนขวาและด้านล่างซ้าย


ความหมายวงกลม คือ ความมุ่งหมายร่วมกันในการพัฒนาเยาวชนให้เป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามคุณค่าแห่งศาสนธรรม วัฒนธรรม และวิชาความรู้ ขณะเดียวกันก็หมายถึง การรวมศรัทธาธรรมของนักบวชเข้ากับความรักของผู้ปกครอง เมตตาธรรมของครู และการแสวงหาความรู้ความเจริญของผู้เรียน

เส้นประดับเจ็ดกลีบ แทนพระคุณเจ็ดประการของพระจิตเจ้า (พระดำริ สติปัญญา ความคิดอ่าน พละกำลัง ความรู้ ความศรัทธา ความยำเกรง)

โล่ แสดงนัยของคุณธรรมว่า ความรู้เป็นเครื่องปกป้องภัย

ดาบคม คือปัญญา ด้าม คือ สติ ดาบนี้เป็นเครื่องประหารความเขลาและความไม่ชอบธรรมทั้งหลาย และป้องกันตนเอง จึงต้องใช้ความสุขุมคัมภีรภาพอย่างองอาจและกล้าหาญ

ใบไม้ ใบไม้ แทนใบมะกอก ใบของพืช คือส่วนที่ทำหน้าที่หายใจ ใบมะกอกจึงแทนการดำรงชีวิตในสันติสุข

สัญลักษณ์ดอกลิลลี่ (FLEUR DE LIS) คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ได้เลือกดอกลิลลี่เป็นสัญลักษณ์ของตราประจำสถานศึกษา เพราะดอกลิลลี่มีสีขาว เปรียบเสมือนความบริสุทธิ์ ซื่อสัตย์ จงรักภักดีและเที่ยงตรง
ดอกลิลลี่ผุดขึ้นจากดินชูก้านตรงสู่ความไพศาลและความสว่าง ความงดงามของดอกลิลลี่ สีขาวเป็นที่ชื่นชมเปรียบได้กับปรัชญาชีวิตว่า เจ้าของชีวิตที่ว่า มนุษย์พึงพัฒนาตนด้วยความตรงสองประการ คือ ซื่อตรง เที่ยงตรง พร้อมทั้งมีความถ่อมตน สุภาพ และหนักแน่นอยู่เป็นนิจ ดุจดังแผ่นพื้นพสุธา สีขาวซึ่งเปรียบเสมือนความบริสุทธิ์ เป็นความงามประจำตนและเป็นแบบฉบับ แม้ต้นกำเนิดจะอยู่ในที่อับ ก็พึงเจริญชีวิตสู่ความสว่างให้เป็นที่ประจักษ์


สีประจำสถานศึกษา

ม่วง-ทอง ประกอบขึ้นเป็นคุณธรรมที่นำมาซึ่งจิตใจที่ราบเรียบ สงบและเยือกเย็น อันก่อให้เกิดความดีทั้งปวง

สีม่วง เป็นสีแห่งความราบเรียบ สุขุม รอบคอบ และเยือกเย็น เป็นจุดสำคัญและจุดเด่น ในการต่อสู้กับอุปสรรคและอันตรายทั้งปวงเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความยุติธรรม และ ความรักสามัคคีของหมู่คณะ

สีทอง เป็นสีแห่งคุณธรรม การแสดงคุณธรรมความดี ตั้งมั่นอยู่ในหลักของธรรมย่อมจะพาชีวิตให้พัฒนาสู่ความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ต้นไม้ประจำสถานศึกษา

ต้นประดู่เหลือง เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นช่อแตกออกจากปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นมัน สีเขียว ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งระดมกันบานเต็มต้น ดูลานตา หมายถึง ศิษย์ของเซนต์โยเซฟ บางนา เป็นผู้ที่มีความพร้อม ความร่วมมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข

พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดภูเก็ต

ชื่อวิทยาศาสตร์ PTEROCRPUS INDICTS WILD

ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น ประดู่กิ่งอ่อน   สะโน   อังสนา

เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร เรือนยอดรูปกลมหรือรูปร่าง ทึบ ปลายกิ่งห้อยย้อยลง เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดทั่วไป เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง ใบ ประกอบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับกัน 4 - 10 ใบ ดอก รูปดอกถั่วสีเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่งช่อยาว 20 - 30 เซนติเมตร ผล รูปโล่ มีครีบเป็นแผ่นกลม ตรงกลางนูน กว้าง 3 - 4 เซนติเมตร

นิเวศวิทยา พบในป่าดิบภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปสามารถปลูกได้ทั่วไป

ออกดอก เดือนมีนาคม - เมษายน ดอกจะบานเกือบพร้อมกันและโรย พร้อมกัน

ขยายพันธุ์ โดยเมล็ดและปักชำกิ่ง

ประโยชน์ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา เป็นไม้ประดับ เนื้อแก่นสีแดงนำมาเป็นสีย้อมผ้า เปลือก แก้ท้องเสียใบและดอกอ่อน รับประทานเป็นผัก น้ำต้มจากใบใช้มาสระผม


ปรัชญาของโรงเรียน มนุษย์ที่มีคุณภาพ คือ มนุษย์ที่มีคุณธรรมและความรู้

วิสัยทัศน์ มุ่งสร้างคนดี รักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สู่ความเป็นสากล

อัตลักษณ์ ซื่อตรง เรียบง่าย การงาน รักเมตตา กตัญญูรู้คุณ

พันธกิจ (Mission)

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน

มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล

มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม จัดโครงการ / กิจกรรมเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม