Get Adobe Flash player

สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20


พุทธศาสนิกชนต่างยินดี

และถวายสักการะ


Welcome to SJB


โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา


มุ่งสร้างคนดี รักษ์สิ่งแวดล้อม

เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สู่ความเป็นสากล

St.Joseph Bangna

จำนวนนักเรียนทั้งหมด 2,925 คน

จำนวนครูชาวไทย 122 คน

ครูชาวต่างชาติ  34 คน 

ข้อมูล ณ วันที่ 26 กรกฏาคม  2560

แหล่งการเรียนรู้

แหล่งความรู้


 




Search

อดีตในวันนี้




แผนที่ตั้งโรงเรียน

Facebook


          ใครว่าอาชีพครูไม่สำคัญ นั่งอ่านหนังสือจิตวิทยาการศึกษาหลายเล่มมาสะดุดที่เล่มนี้จะนำเนื้อหามาบอก ต่อและความน่าสนใจในหนังสือเล่มนี้เขียนพอสรุปว่า จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ และพัฒนาการของผู้เรียน ในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฏีและหลักการที่จะนำมา ช่วยแก้ปัญหาการศึกษา และส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

          จิตวิทยาการศึกษา มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล นักศึกษาและครู จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนถึงปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการเรียนการสอน เหมือนกับวิศวกรที่จำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ โดยทั่วไปแล้ว เนื้อหาของจิตวิทยาการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับครูและนักการศึกษา ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

  1. ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน นักจิตวิทยาการศึกษา ได้เน้นความสำคัญของความแจ่มแจ้งของการระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา บทเรียน ตลอดจนถึงหน่วยการเรียน เพราะวัตถุประสงค์จะช่วยในการเรียนการสอน
  2. ทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ   เป็นเรื่องที่นักการศึกษา และครูจะต้องมีความรู้ เพราะจะช่วยให้เข้าใจเอกลักษณ์ของผู้เรียนในวัย ต่างๆ โดยเฉพาะ วัยอนุบาล วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังศึกษาในโรงเรียน
  3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม   นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของ เด็กวัยต่างๆแล้ว นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มทางด้าน ระดับเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่าง ระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอน และในการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
  4. ทฤษฎีการเรียนรู้   นักจิตวิทยาที่สนใจเกี่ยวกับการเรียนรู้   นอกจากจะสนใจว่าทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยนักเรียนให้เรียนรู้และจดจำอย่างมี ประสิทธิภาพได้อย่างไรแล้วยังสนใจองค์ประกอบเกี่ยวกับตัวของผู้เรียน เช่น แรงจูงใจ ว่ามีความสำพันธ์กับการเรียนรู้อย่างไร ความรู้เหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน
  5. ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา   นักจิตวิทยาการศึกษาได้เป็นผู้ นำในการบุกเบิกตั้งทฤษฎีการสอน ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์เท่าเทียมกับทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการในการ ช่วยนักศึกษาและครู เกี่ยวกับการเรียนการสอนสำหรับเทคโนโลยีในการสอนที่จะช่วยครูได้มากก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
  6. หลักการสอนและวิธีการสอน    นักจิตวิทยาการศึกษาได้เสนอหลักการสอนและ วิธีการสอน ตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่แต่ละท่านยึดถือ เช่น หลักการสอนและวิธีการสอนตาม ทัศนะนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม   ปัญญานิยม   และมนุษย์นิยม
  7. หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา   ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะช่วยให้นักการศึกษา และครูทราบว่า การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือผู้เรียนได้สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของแต่ละวิชาหรือหน่วยการเรียน หรือไม่ เพราะถ้าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลสูง ก็จะเป็นผลสะท้อนว่าโปรแกรมการศึกษามีประสิทธิภาพ
  8. การสร้างบรรยากาศของห้องเรียนและการจัดการห้องเรียนเพื่อเอื้อการเรียนรู้และช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน

        เนื้อหาของหนังสือนักจิตวิทยาการศึกษาเล่มนี้จะประกอบไปด้วยความรู้พื้นฐานดังกล่าวทั้ง 8 ข้อผู้เขียนได้พยายามรวบรวมเรียบเรียงจากหนังสือตำรา จิตวิทยาการศึกษาที่ใช้แพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา ผลการวิจัยที่ใช้อ้างอิงเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องการเรียนการสอนก็เป็นผลที่ได้จากการวิจัยที่ทำใน ประเทศสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกัน ฉะนั้นผู้อ่านควรจะหาโอกาสศึกษาเปรียบเทียบกับผลงานวิจัยในลักษณะเดียวกัน ที่ทำในประเทศไทย เพื่อจะพิจารณาว่าอิทธิพลขององค์ประกอบทางวัฒนธรรมและสังคมไทยจะมีส่วนทำให้ ผลการวิจัยในเรื่องเดียวกันเปลี่ยนแปรไปหรือไม่

  • ความเป็นครู

            การเป็นครูไม่ใช่แค่รู้ว่าวันครูคือวันที่ ๑๖ มกราคม แต่ความเป็นครูนั้นเปรียบได้กับดอกกล้วยไม้ ต้องใช้เวลานาน ต้องดูแลเอาใจใส่เราจึงจะเห็นดอกกล้วยไม้ การผลิตบุคคลในวิชาชีพครูยิ่งต้องสร้างให้งดงามมาก ให้เขาเข้าใจความเป็นครูและความเป็นครูนั้น ไม่เพียงแต่จะต้องมีความรู้ทางวิชาการเพื่อจะสอนนักเรียนเท่านั้น แต่ครูยังจะต้องเป็นผู้ช่วยนักเรียนให้พัฒนาทางด้านสติ ปัญญา บุคลิกภาพ อารมณ์ และสังคมด้วย ดังนั้นครูต้องเป็นผู้ให้ความอบอุ่นแก่นักเรียน เพื่อนักเรียนจะได้มีความเชื่อและไว้ใจครู พร้อมที่จะพบครูเวลาที่มีปัญหา นอกจากนี้ครูจะต้องเป็นต้นฉบับที่ดีแก่นักเรียน ถ้าหากจะถามนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถม จนถึงนิสิตนักศึกษาขั้นมหาวิทยาลัย ว่ามีใครบ้างในชีวิตของนักเรียนที่นักเรียนยึดถือเป็นต้นฉบับ นักเรียนส่วนมากจะมีครูอยู่อย่างน้อยหนึ่งคนเป็นต้นฉบับหรือตัวแบบและนักเรียนจะยอมรับค่านิยมและอุดมการณ์ของครู เพื่อเป็นหลักของชีวิต อิทธิพลของครูที่นักเรียนยึดเป็นต้นฉบับจะติดตามไปตลอดชีวิต

           มีผู้กล่าวว่า ครูเปรียบเสมือนนักศิลปินที่ปั้นรูป เพราะครูทุกคนมีส่วนในการพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียน แต่ผลงานของครูไม่เหมือนกับประติมากรที่พองามแต่ละชิ้นสำเร็จก็เห็นผล งาน อาจจะตั้งให้ชมได้ หรือถ้าไม่ชอบอาจจะแก้ไขเพิ่มเติมได้ ส่วนครูนั้นจะ ต้องรอจนนักเรียนกลับมาบอกครูว่าครูได้ช่วยเขาอย่างไร หรือมีอิทธิพลต่อ ชีวิตเขาอย่างไร และบางครั้งต้องรอก็เป็นการเสียเวลาเปล่าเพราะแม้ว่านักเรียนบางคนจะคิดถึงความดีของครูแต่ก็คิดอยู่ในใจไม่แสดงออกจึงทำให้เคนทั่ว ไปรู้สึกว่าอาชีพครูเหมือนเรือจ้างมีหน้าที่ส่งคนข้ามฟากเท่านั้น ซึ่งเป็นเครื่องชี้ถึงทัศนคติทางลบที่มีต่ออาชีพครูมีส่วนทำให้บางคนตัดสินใจเลือกอาชีพครูเป็นอาชีพสุดท้าย

         นิสิตและนักศึกษาที่เลือกการเรียนวิชาที่จะเป็นครู เมื่อเรียนจบแล้วอาจจะไม่ได้เป็นครูถ้ามีอาชีพอื่นให้เลือก ดังนั้นอาชีพครู จึงประกอบด้วยคน 2 ประเภท คือผู้ที่รักอาชีพครู และต้องการเป็นครูจริงๆ และผู้ที่ต้องเป็นครูด้วยความจำใจ ครูประเภทนี้บางคนได้พบว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีรางวัลในใจที่ได้ช่วยเหลือ นักเรียนให้เรียนรู้หรือเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการทั้งด้าน สติปัญญาและบุคลิกภาพ จึงทำให้รู้สึกว่าเลือกอาชีพที่ถูกแล้ว แต่ครูบางคนมี ความรู้สึกว่าตนเลือกอาชีพผิดและต้องทนอยู่เพราะอยากมีงานทำและอยากมีเงิน ใช้แต่ไม่มีความสุข  ครูประเภทนี้มีอันตรายเปรียบเสมือนฆาตกรนักเรียนทางด้าน จิตใจอย่างเลือดเย็น ทำให้นักเรียนมีความรู้สึกต่ำต้อยและคิดว่าชีวิตของตน ไม่มีค่า เป็นบุคคลที่ไม่มีประโยชน์ ไม่มีความสามารถและอาจจะต้องออกจากโรงเรียนด้วยการเรียนไม่สำเร็จ มีชีวิต ที่ประสบความผิดหวัง ไม่สามารถที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าได้โดยครูเองก็ไม่ทราบ 

cradit by http://kittyzaa.multiply.com

พระบรมราโชวาท

จรรยาบรรณครู